วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน7


เอเชียใต้

เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 10% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน) ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย)

และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และ ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบต และ เทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือ จากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

ประเทศในเอเชียใต้ประกอบไปด้วย
อินเดีย ปากีสถานกีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน และมัลดีฟส์

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน6


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ 5,000,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คน/ตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ได้แก่

อินโดนีเซีย พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา ติมอร์ตะวันออก บรูไน สิงคโปร์
ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีป และ ภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ มาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์ตะวันออก บรูไน และ สิงคโปร์
ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี,ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง,ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง,ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐฉาน,เทือกเขาอาระกันโยมา,พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว,ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ
เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย,หมู่เกาะฟิลิปปินส์,เกาะสิงคโปร์) โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไน ซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกัน เป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ โฮจิมินห์ซิตี้ ฮานอย ปุตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เสรีเบกาวัน ภูเก็ต

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน5


เอเชียตะวันออก
เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย
ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า
ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือ 85% ของประชากรในภูมิภาค
ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คน/ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก
เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโรชิม่า นางาซากิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินชอน เทียนสิน ฮ่องกง
ประเทศในเอเชียตะวันออกก็มี สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า ซึ่งฮ่องกงและมาเก๊าเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศจีน

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน4


ทวีปเอเชียนอกจากจะเป็นอนุภูมิภาคของทวีปยูเรเชีย ยังอาจแบ่งออกเป็นส่วนย่อยดังนี้

เอเชียเหนือ
นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน
เอเชียกลาง
เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ จากประเทศต่างๆที่แยกตัวออกจากอดีตสหภาพโซเวียต เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,003,400 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้าๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย,ยุโรปตะวันออก และ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลาง เป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่ม บริเวณทะเลสาบแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์
ประเทศในเอเชียกลางประกอบด้วย 5 ประเทศคือ คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน3


ลักษณะภูมิประเทศ
เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ระหว่างเเม่น้ำออบเเละเเม่น้ำเยนีเซย์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำเเข็งเเละหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะเเข็งตัวเป็นน้ำเเข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่ค่อยสะดวก ลำน้ำเเละพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้ จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบางมาก

เเม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้เเก่ แม่น้ำฮวงโห,แม่น้ำแยงซีเกียง,เเละแม่น้ำซีเจียงในประเทศจีน
เเม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เเก่ แม่น้ำเเดงในประเทศเวียดนาม,แม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย,แม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า เป็นต้น
เเม่น้ำสายสำคัญของเอเชียใต้ ได้เเก่ แม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย,แม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน,แม่น้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศ เป็นต้น
เเม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้เเก่ แม่น้ำไทรกีส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก

ที่สุดในทวีปเอเชีย
จุดเหนือสุด เเหลมเชลยูสกิน ประเทศรัสเซีย
จุดใต้สุด เกาะโรติ ประเทศติมอร์ตะวันออก
จุดตะวันออกสุด เเหลมเดชเนฟ ประเทศรัสเซีย
จุดตะวันตกสุด เเหลมบาบา ประเทศตุรกี
ยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดเขาเอเวอร์เรสต์
เเม่น้ำสายยาวที่สุด แม่น้ำแยงซีเกียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เกาะที่ใหญ่ที่สุด เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย,มาเลเซีย เเละ บรูไน
เเอ่งน้ำใหญ่ที่สุด เเม่น้ำออบ ประเทศรัสเซีย
ทะเลสาบใหญ่ที่สุด ทะเลสาบแคสเปียน
จุดต่ำสุด ทะเลสาบเดดซี ประเทศอิสราเอล

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทวีปเอเชีย ตอน2


โครงสร้างทางธรณีวิทยาของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตหินเก่าและเขตหินใหม่ เขตหินเก่า มีอยู่ 3 บริเวณ คือ
1.บริเวณที่ราบสูงภาคเหนือ ในเขตประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม)
2.บริเวณที่ราบสูงอาหรับในประเทศซาอุดิอาระเบีย และ
3.บริเวณที่ราบสูงเดดคานในประเทศอินเดีย เขตหินใหม่ จะเริ่มจากแนวเทือกเขาในประเทศตุรกี ผ่านมาทางภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะประกอบด้วยที่ราบสูง เทือกเขา และหมู่เกาะต่างๆ เขตนี้พื้นผิวโลกอ่อนตัวมาก จึงมีภูเขาไฟและแผ่นดินไหวอยู่เสมอ
ลักษณะของภูมิประเทศของทวีปเอเชีย แบ่งออกได้เป็น 5 เขต คือ
1.เขตที่ราบต่ำทางเหนือ คือ บริเวณตอนบนของทวีปซึ่งอยู่ในเขตประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม) เป็นที่ราบดินตะกอนใหม่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อยเพราะอยู่ในเขตอากาศหนาวเย็น
2.เขตเทือกเขาและที่ราบสูงตอนกลาง เป็นเขตพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยเทือกเขาและที่ราบสูง โดยเริ่มจากตอนกลางของทวีปแล้วจึงแผ่ขยายแนวไปทางทิศตะวันออกออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และทางตะวันตก ยอดเขาและเทือกเขาที่สำคัญของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตนี้
3.เขตที่ราบสูงภาคใต้ เป็นเขตที่ราบสูงหินเก่าตั้งอยู่ในบริเวณคาบสมุทร คือ ที่ราบสูงอาหรับในคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงเดดคานในคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงยูนนานในคาบสมุทรอินโดจีน โดยพื้นที่จะยกสูงทางตะวันตกแล้วค่อยๆลาดเทต่ำไปทางตะวันออก
4. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ เขตนี้เกิดจากแม่น้ำสายต่างๆ ที่อยู่ทางตะวันออกและทางใต้ของทวีป พัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมกันจนกลายเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของทวีป เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ที่ราบแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรติส เป็นต้น
5. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟ เป็นเขตหินใหม่ คือ บริเวณหมู่เกาะอันเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟ ทั้งที่ดับแล้วและที่ยังคุกรุ่นอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้วยเหตุที่ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่กว้างใหญ่และมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติที่แตกต่างกันตามไปด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้8แบบคือ
1.แบบร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก ช่วงฤดูแล้งสั้น โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงไป
2.แบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีฤดูร้อนแห้งแล้งและฤดูฝนที่เด่นชัด มีฝนตกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโป่งสลับทุ่งหญ้า อากาศประเภทนี้อยู่บริเวณคาบสมุทรอินเดียและคาบสมุทรอินโดจีน
3.แบบมรสุมเขตอบอุ่น มีลักษณะคล้ายมรสุมเขตร้อน แต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นกว่า พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ใบกว้าง ผลัดใบในหน้าหนาวหรือป่าไม้แบบผสม เขตอากาศแบบนี้อยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกของจีน พื้นที่ประเทศญี่ปุ่น และคาบสมุทรเกาหลี
4.แบบทุ่งหญ้าอบอุ่นภายในทวีป อากาศจะหนาวจัดในฤดูหนาว (อุณหภูมิจะต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส) ในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าที่มีหญ้าสั้น เช่นในเขตที่ราบตอนกลางของแมนจูเรีย มองโกเลีย และไซบีเรียตะวันออก
5.แบบทะเลทราย อากาศจะร้อนจัดในตอนกลางวัน พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกทุ่งหญ้าสั้นและไม้หนาม เขตอากาศแบบนี้จะมีกระจายกันเป็นหย่อมๆ แต่ที่มีแผ่เป็นบริเวณกว้าง ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย และบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชีย
6.แบบเมดิเตอร์เรเนียน ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูง อากาศร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูหนาวอากาศจะอบอุ่นชื้นและมีฝนตก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ เช่น ไม้ซีดาร์ ได้แก่ บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของทวีปที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
7.แบบกึ่งขั้วโลก เขตนี้มีอากาศหนาวจัด มีหิมะตกเกือบตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกไม้สน เขตอากาศแบบนี้จะอยู่ทางตอนบนของทวีป โดยเฉพาะเขตไซบีเรียของสาธารณรัฐรัสเซีย
8.แบบขั้วโลกหรือทุนดรา อากาศจะหนาวจัดมาก พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะเกือบตลอดทั้งปี พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นพวกตะไคร่น้ำและหญ้ามอสซึ่งจะขึ้นได้บ้างในฤดูร้อน เขตอากาศแบบนี้จะอยู่ทางตอนบนสุดของทวีปบริเวณที่จดชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก
ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก คือ ประมาณ 44.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 3,070 ล้านคน ประกอบด้วย 40 ประเทศ และ 2 ดินแดนที่ยังมิได้เป็นประเทศโดยสมบูรณ์ เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาทำความเข้าใจ ดังนั้นจึงได้มีการแบ่งทวีปเอเชียออกเป็นภูมิภาค โดยใช้หลักเกณฑ์ทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการปกครอง เป็นปัจจัยในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งทวีปเอเชียออกเป็น 5 ภูมิภาค โดยกำหนดชื่อเรียกตามทิศทางเป็นสำคัญได้แก่
1.ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
3.ภูมิภาคเอเชียใต้
4.ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
5.ภูมิภาคเอเชียกลาง

ทวีปเอเชีย


ทวีปเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย มีเขตแดนที่คลุมเครือโดยเฉพาะเขตต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ทวีปเอเชียกับแอฟริกาบรรจบกันที่ใดที่หนึ่งใกล้กับคลองสุเอซ ในอียิปต์ แนวเขตแดนระหว่างเอเชียกับยุโรปผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์ ทะเลมาร์มารา ช่องแคบบอสโพรัส ทะเลดำ แนวสันเขาบริเวณเทือกเขาคอเคซัส บางคนว่าผ่านทะลุแอ่งคูมา-มานิช ทะเลแคสเปียน แม่น้ำอูราลบางคนว่าผ่านแม่น้ำเอมบา และเทือกเขาอูรัล ถึงหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย ทวีปเอเชียมีประชากรราว 60% ของประชากรโลก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ คือ ภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่แยกออกจากอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด
ทวีปเอเชียมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร มีตำแหน่งที่ตั้งตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้ คือ จากละติจูด 1 องศา 16 ลิบดาเหนือ ถึง 77องศา 41 ลิบดาเหนือ และจากลองติจูด 26 องศา 4 ลิบดาตะวันออก ถึง 169 องศา 30 ลิบดาตะวันตกทวีปเอเชียมีเนื้อที่ประมาณ 44 จากที่ตั้งของทวีปเอเชียนี้เองทำให้ทวีปเอเชียได้รับสมญานามว่า "ทวีปแห่งความตรงกันข้าม" ขนาดของทวีปเอเชีย ล้านตารางกิโลเมตรหรือประมาณร้อยละ30ของผืนแผ่นดินทั้งโลกความกว้างของทวีปนับจากประเทศตุรกีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกไปจดประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นระยะทางยาว 9,600 กม. ความยาวของทวีป วัดจากชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ไปจดหมู่เกาะซาวู ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ทางใต้ มีความยาวประมาณ 9,600 กม.ที่ศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ทางใต้ มีความยาวประมาณ 9,600 กม. ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น 5 เท่าของทวีปออสเตรเลีย
ทวีปเอเชียมีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนต่างคือ
ทิศเหนือ จดมหาสมุทรอาร์กติกมีแหลมเชลยูสกินของสหพันธรัฐรัสเชียเป็นแผ่นดินอยู่เหนือที่สุด
ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแปซิฟิกมีแหลมเดชเนฟ ของสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นแผ่นดินตะวันออกที่สุด
ทิศตะวันตก จดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ กับทิวเขาอูราล กั้นดินแดนกับทวีปยุโรปและมีทะเลแดงกับคาบสมุทรไซไน กั้นดินแดนกับทวีปแอฟริกา มีแหลมบาบาของตุรกีเป็นแผ่นดินตะวันตกสุด
ทิศใต้จดมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะโรติ ของติมอร์ – เลสเต เป็นดินแดนอยู่ใต้ที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยา และลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็นเขตใหญ่ ๆ คือ เขตที่ลุ่มภาคเหนือ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำขนาดใหญ่มาก ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก ตอนกลางเป็นเนินสูงและที่ราบสูงประกอบด้วยภูเขาสูงใหญ่ ตอนใต้บางแห่งเป็นที่ราบสูงเต็มไปด้วยภูเขา มีทิวเขาต่าง มากมาย บางแห่งเป็นที่ราบต่ำมีภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาหิมาลัย มียอดเขาเอเวอเรสต์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาคราโครัม มียอดเขากอดวิน ออดเตน ภูเขาฮินดูกูษ ภูเขาคุนลุ้น ภูเขาเทียนซาน
มีแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำอามูร์ แม่น้ำเยนีเซีย แม่น้ำออบ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำโขง แม่น้ำลีวา
ที่ราบสำคัญจะเป็นที่ราบธิเบต ซึ่งเป็นที่ราบที่สูงที่สุดในโลก
ทะเลทรายที่สำคัญก็มี ทะเลทรายอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายซีเรีย
ทะเลสาบสำคัญ ๆมี ทะเลแคสเปียน ซึ่งเป้นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลอารัล ทะเลสาบไบคาล ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียและลึกที่สุดในโลก